การออกแบบแฟชั่น

1. ความหมายของการออกแบบ
ได้มีผู้ให้คำจำกัดความหมายของคำว่า การออกแบบ  ไว้แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิหลังทางการศึกษา ประสบการณ์ ดุลกทัศน์ และความสนใจของแต่ละบุคคล ซึ่งจากการศึกษาเอกสารวิชาการต่างๆ ความหมายของการออกแบบมีดังนี้  
ศิริพร ปีเตอร์ (2550) ได้ให้ความหมายของคำว่า การออกแบบ หมายาถึง การสร้างสรรค์สิ่งหนึ่งๆ อย่างมีวัตถุประสงค์
 วัฒนะ จุฑาวิภาค ( 2527 ) ได้ให้ความหมายของคำ ๆ นี้ไว้ 2 ลักษณะคือ
 การออกแบบ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานขึ้น ดูด้วยไม่ลอกเลียนของเดิมหรือ
ความคิดเดิมที่มีมาก่อน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย หรือความต้องการด้านอื่นๆ
การออกแบบ คือ การสร้างสรรค์ผลงานในรูป 2 มิติ และ 3 มิติ ให้เกิดความสวยงาม
และสามารานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสมกับสภาพต่างๆ
นอกจากนั้น รัตนะ อุทัยผล ( 2523 ) ยังได้อธิบายความหมายของการออกแบบไว้อีก คือ การออกแบบ ( design ) หมายาถึง การเลือกสรร ( selecting ) และการจัดสรร
 ( arranging ) วัสดุต่างๆ ให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์ 2 ประการ คือ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการจัดโครงสร้างและเพื่อความสวยงาม ( beauty ) ซึ่งย่อมจะแสดงให้เห็นลักษณะและความคิด  ( idea ) ของแต่ละบุคคล จากความหมายของการออกแบบ จะเห็นว่า งานออกแบบเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับวัตถุ หรือวัสดุต่างๆ งานการออกแบบมีมาตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่การออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จนถึงการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เพื่อผลทางความงามหรือความพึงพอใจ จนถึงงปัจจุบันงานออกแบบก็ยังคงเป็นสื่อกลางที่มีคุณค่าต่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้น 177
2. ความหมายของการออกแบบเสื้อผ้า
ความหมายของการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Fashion Design หรือ Costume Design ในวงการ การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้มีการนำคำศัพท์เหล่านี้มาใช้เรียกทับศัพท์อยู่เสมอ ซึ่งความหมายคำศัพท์ที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ คำว่า Fashion , Costume , Design ดังนี้ (จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง, 2543 )
 2.1 Fashion หมายาถึง การวางรูปแบบ รูปแบบของเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่นๆที่ประชาชน
ส่วนใหญ่นิยมในห้วงเวลาหนึ่ง
 2.2 Costume หมายถึง เครื่องแต่งกายซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมาย
เป็นการเฉพาะหรือเป็นพิเศษ สำหรับสานที่หรือใช้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
 2.3 Design หมายาถึง การออกแบบ แบบแผน ลวดลายเค้าโครง ซึ่งแสดงให้เห็น
วิธีการหรือแนวทางในการท าบางสิ่งบางอย่าง แนวทางการท าบางสิ่งบางอย่าง เส้นและรูปร่าง ซึ่งเป็นที่มาของแบบหรือการตกแต่ง ด้วยมีจุดมุ่งหมายพิเศษเป็นการเฉพาะ
กล่าวโดยสรุปการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หมายาถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์
ในการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โดยมีแรงบันดาลใจจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ธรรมชาติ รูปทรงสิ่งแปลกใหม่ สื่อเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบัน หรือการน าแบบเสื้อผ้าในสมัยโบราณมาดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย ทั้งนี้จะต้องมีประโยชน์ด้าน การใช้สอยและความงามเป็นสำคัญ ตลอดจนการแสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าด้านวัฒนธรรม ประเพณี และความนิยมของคน ในยุคนั้นๆ โดยใช้หลักการออกแบบทางศิลปะเข้าช่วย และคำนึงถึงความต้องการด้านต่างๆ ตลอดจน ค่านิยม ประโยชน์ใช้สอย ความเหมาะสม และความทันสมัย  
3. ความสำคัญของการออกแบบเสื้อผ้า
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในชีวิตประจาวัน การประกอบอาชีพ ตลอดจนการแสดงบทบาทและฐานะทางสังคม ตั้งแต่ในอดีตมนุษย์ได้คิดค้นโดยการนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติ มาห่อหุ้มและปกปิดร่างกาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำรงชีพ การปกป้องร่างกายจากสภาพภูมิอากาศและอันตรายจากพืช แมลง และสัตว์ ต่อมาได้มีพัฒนาการ
เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน นอกจากเสื้อผ้าจะให้ประโยชน์ในด้านกายภาพแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการแต่งกายได้หลายแง่มุม ซึ่งสามารถจำแนกความสำคัญของเสื้อผ้าเครื่องแต่ง
3.1 เพื่อการปกป้องร่างกาย
 3.2 เพื่อแสดงสานภาพและชื่อเสียง
 3.3 เพื่อแสดงบทบาทในสังคม
 3.4 เพื่อการแสดงออกและบอกพฤติกรรมของบุคคล
 3.5 เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
 3.6 เพื่อใช้แสดงประเพณีและวัฒนธรรม
 3.7 เพื่อแสดงอิทธิพลของความเสมอภาคทางสังคม
 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างยิ่งด้วยความต้องการที่แตกต่างและเพิ่มมากขึ้น ทำให้การออกแบบเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการ และด้วย
ความเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงความต้องการดึงดูดเพศตรงข้ามแล้วนั้น อาจกล่าวได้ว่า การออกแบบมีบทบาทสำคัญต่อความสามาราในการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของสังคมได้อย่างแท้จริง ในการ
ออกแบบเสื้อผ้ายังสามาราเกิดจากมูลเหตุต่างๆได้ ดังนี้ คือ
 1. การเติบโตของสังคม เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น การออกแบบเสื้อผ้าจึงต้องมีการ
ปรับปรุงและสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป
 2. การศึกษาและความก้าวหน้าทางการศึกษา ทำให้กระบวนการออกแบบได้ถูก
ปรับปรุงและ ทดลอง เพื่อพัฒนาให้มีคุณค่าตรงตามความต้องการ
 3. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่
 4. สภาพสังคมปัจจุบันความต้องการของมนุษย์มุ่งเน้นที่ความต้องการของตนเอง
 5. ทัศนคติของสังคมที่ต้องการรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม นิยมความเรียบ สะดวก
ประหยัด และชอบเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ตามเวลาและสานที่ของการนำไปใช้
 6. มนุษย์มีการคิดค้นวัสดุใหม่ๆ ทำให้รูปแบบและลักษณะการออกแบบเปลี่ยนแปลง
ไปเพื่อให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ
จากมูลเหตุของการออกแบบเสื้อผ้าส่งผลให้งานออกแบบเสื้อผ้ามีคุณค่าในด้านต่าง ๆ
3 ด้าน ดังนี้
1) คุณค่าทางกาย คือ คุณค่าที่มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยตรง
2) คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกคือคุณค่าที่เน้นความชื่นชอบ พึงพอใจ ความ
 มั่นใจ 179
 3) คุณค่าทางทัศนคติ คือ การออกแบบที่ส่งผลต่อทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
 ต่อผู้พบเห็น
 4. หลักการออกแบบเสื้อผ้า
 หลักในการออกแบบเสื้อผ้า แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
 4.1 การออกแบบโครงสร้าง ( structure design )
 ในการออกแบบเสื้อผ้าส่วนใหญ่ จะต้องมีการออกแบบจากโครงสร้างเป็นพื้นฐาน
หมายาถึง การออกแบบที่ประกอบด้วย ขนาด ( size ) รูปทรง ( from ) สี ( color ) และผิวสัมผัส ( texture ) ของเสื้อผ้า ราวมาถึงชนิดของตะเข็บ ปก แขน กระเป๋า และส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ
ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเสื้อผ้านั้นๆ จะขาดส่วนใดไปไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่า การนำชิ้นส่วน อันเป็นโครงสร้างแต่ละชิ้นมาเย็บตะเข็บต่อกันจะสามาราเป็นเสื้อผ้าที่สมบูรณ์ได้ การออกแบบโครงสร้างในการออกแบบเสื้อผ้านั้นนับว่ามีความสำคัญอันดับแรก เพราะถ้าเสื้อผ้าที่ได้รับการออกแบบด้วยโครงสร้างที่ดี มักจะจัดเป็นเสื้อผ้าชั้นสูง และยังได้รับความนิยมเป็นเวลานาน  การออกแบบโครงสร้างที่ดีนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญแล้ว ( form follows function ) ยังต้องคำนึงถึงด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ดังนี้
 4.1.1 มีความสวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย
 4.1.2 เป็นรูปแบบง่าย ๆ เรียบ ๆ
 4.1.3 มีสัดส่วนที่ดี
 4.1.4 เหมาะสมกับวัสดุที่ใดใช้และกรรมวิธีในการผลิต  181
  4.2 การออกแบบตกแต่ง ( decorative design )
 การออกแบบตกแต่ง เป็นการตกแต่งเพิ่มเติมจากแบบโครงสร้างเพื่อเพิ่มคุณค่า
ให้กับเสื้อผ้า การปัก การติดระบาย การติดกระดุม การติดฝากระเป๋าไว้หลอกๆ ดบ ผ้าพันคอ ตลอดจนเข็มขัด โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ซึ่งการออกแบบตกแต่งในลักษณะนี้มักใช้กับงานที่ไม่ต้องการฝีมือการตัดเย็บเท่าใดนัก เพราะสามาราปกปิดความบกพร่องของฝีมือตัดเย็บที่ไม่ชำนาญได้ สิ่งที่นำมาตกแต่งเพิ่มเติม สามาราเปลี่ยนย้ายไปใช้กับเสื้อผ้าตัวอื่นได้
การออกแบบตกแต่งเพิ่มเติมจนเป็นต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
 4.2.1. ส่วนตกแต่งจะต้องช่วยเสริมแบบเสื้อจากโครงสร้างเดิมให้เด่นขึ้น
 4.2.2 ส่วนตกแต่งต้องสัมพันธ์กับเส้นบนโครงสร้างของแบบเสื้อ
 4.2.3 ส่วนตกแต่งเพิ่มเติมจะต้องสัมพันธ์กับผิวสัมผัสของผ้าที่ใช้การตัดเย็บ
 4.2.4 การใช้ส่วนตกแต่งควรใช้ไม่เกิน 1 หรือ 2 แห่ง ในแบบเสื้อ
 4.2.5 สีของวัสดุตกแต่ง ควรเลือกใช้สีที่มีความผสมผสานกับสีและ
ลวดลายของผ้าที่เป็นโครงสร้างของเสื้อ
 4.2.6 ขนาดของวัสดุตกแต่ง ควรมีความสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ที่ต้องการ
ออกแบบตกแต่ง
 4.2.7 การตกแต่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของวัสดุและประโยชน์ใช้สอย
5. องค์ประกอบในการออกแบบเสื้อผ้า
 องค์ประกอบในการออกแบบเสื้อผ้าประกอบด้วย
 5.1 เส้นและรูปโครง ( lines, forms )
 เส้นและรูปโครง ในการออกแบบจะต้องพิจารณาไปพร้อมๆ กัน เพราะเส้นเป็น
สิ่งที่ใช้กำหนดบริเวณหนึ่งๆ ให้เกิดรูปร่างขึ้น ทั้งในรายละเอียดบนตัวเสื้อและเส้นกรอบนอกของเสื้อผ้า การเลือกใช้เส้นบนแบบเสื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมสามาราลวงตาได้ เช่น สามาราทำให้ดูสูงขึ้นหรือเตี้ยลงได้ เป็นต้น นอกจากนั้นผลของการใช้เส้นต่างๆ บนแบบเสื้อยังสามาราทำหน้าที่เน้นสีของผ้า และผิวสัมผัสของผ้าได้ ตลอดจนความห่างของตำแหน่งที่ตั้งของเส้นเหล่านั้น ได้
ตามความต้องการว่าจะเน้นหรือไม่ต้องการเน้นให้สะดุดตาการเลือกใช้เส้น อาจจะใช้ตามลักษณะรูปร่างของร่างกาย หรือเลือกเส้นที่ตรงกันข้ามกับ
ลักษณะรูปร่างของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่นำไปใช้และจุดประสงค์ในการออกแบบเส้น
บนเสื้อผ้ามี 2 ชนิด คือ เส้นตรงและเส้นโค้ง
  5.1.1 เส้นตรง
 เส้นตรงมีทิศทางการใช้ อยู่ 3 ทิศทาง ได้แก่ ตรงแนวราบ ตรงแนวตั้ง และตรงแนวเฉียงหรือทแยง ส่วนเส้นโค้งไม่สามาราจำกัดทิศทางของการใช้ได้แน่นอน แต่ไม่ว่าจะเป็นเส้นแนวตรงหรือแนวโค้งก็ตามย่อมสามาราทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ กันไป เส้นตรงเป็นเส้นที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับลักษณะเส้นของร่างกาย ให้ความรู้สึกที่แข็งแรงกระด้างซึ่งในบางครั้งต้องการลดความรู้สึกแข็งกระด้างลง อาจจะใช้วิธีเลี่ยงไปใช้กับผ้าเนื้ออ่อนนุ่ม เส้นตรงนั้นๆ จึงจะดูคล้อยตามส่วนเว้าส่วนโค้งของร่างกาย ผ้าที่มีเนื้อผ้าที่แข็งกระด้างจะมีความเป็นเส้นตรงในตัวเอง
เส้นตรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงสร้างของแบบเสื้อ ได้แก่ แนวตะเข็บ แนวเกล็ด และแนวตำแหน่ง
รอยเปิดของเสื้อผ้า แต่ละทิศทางของเส้นตรงสามาราลวงตาให้เกิดความรู้สึกต่างๆ กันได้ ซึ่งใน
การเลือกใช้ควรคำนึงถึงรูปร่างของแต่ละคนที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป
 1) เส้นตรงแนวตั้ง โดยปกติจะให้ความรู้สึกในทางเพิ่มความสูง เป็น
เส้นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้ที่ต้องการมีรูปร่างที่สูงโปร่ง เส้นตั้งในเสื้อผ้า ได้แก่ เส้นจากลวดลายผ้า
เส้นภายในโครงสร้างของเนื้อผ้า เส้นในโครงสร้างของแบบเสื้อ เส้นที่เกิดจากส่วนตกแต่งภายในตัวเสื้อ
 2) เส้นตรงแนวนอน มักให้ความรู้สึกช่วยเพิ่มความกว้าง แต่ไม่จริงเสมอ
ไปนัก เพราะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความห่างหรือช่องไฟของเส้นเหล่านี้ด้วย เส้นตรงแนวนอน ในแบบเสื้อ ได้แก่ เส้นจากลวดลายผ้า เส้นเอว เส้น yoke เส้นชายกระโปรง และส่วนตกแต่งที่เป็นแนวราบกับร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นเมื่อความเข้มของสีและขนาดของเส้นหรือช่องไฟมากเท่าไร ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกกว้างขึ้นตามไปด้วย
3) เส้นตรงแนวเฉียงหรือเส้นทแยง เป็นเส้นที่นิยมมาใช้กับเสื้อผ้ามาก
อีกเส้นหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะให้ความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามีชีวิตชีวาแล้ว ยังช่วย
เอาพรางส่วนที่บกพร่องของรูปร่างได้อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองศาของแนวเส้นเฉียงที่ไปใช้ว่า อยู่ในองศาใดองศาของเส้นน้อยก็จะให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับเส้นตรงแนวราบ แต่งองศาของเส้นมากขึ้นจนใกล้เคียงกับ 90 องศา เท่าไรก็จะให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับเส้นตรงแนวตั้ง เส้นซิกแซ็กจัดเป็นเส้นที่เกิดจากแนวเส้นทะแย้ง สามาราลวงตาไปตามทิศทางและองศาของเส้น เส้นเฉียงหรือเส้นทะแย้ง เส้นซิกแซ็กในเสื้อผ้าได้แก่ ลวดลายผ้า โครงสร้างการทอของผ้า แนวเส้นเหล่านี้นำไปใช้ในการออกแบบเสื้อผ้ามักจะให้ความรู้สึกเพิ่มขนาดขึ้น
  5.1.2 เส้นโค้ง
 จัดเป็นเส้นที่มีความคล้อยตามเส้นของรูปร่างมากที่สุด และเป็นเส้นที่ถูกนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการให้เกิดความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวล นอกจากนั้นยังให้ความรู้สึกคล่องแคล่วมากขึ้นตามแนวเส้นโค้งที่ขยายกว้างเพิ่มขึ้นจนเป็นแนววงกลม เส้นโค้งในตัวเสื้อมีความสัมพันธ์กับส่วนโค้งของรูปร่าง ดังนั้นนำรูปร่างโค้งเว้ามากเท่าไรก็ทำให้เป็นการเน้นสัดส่วนให้เด่นชัดมากขึ้น  186
 การนำเส้นมาใช้ในการออกแบบโครงร่างของแบบเสื้อแล้ว ก็จะได้ เส้นกรอบนอก
( silhouettes )ของแบบเสื้อนั้นๆ ซึ่งเส้นกรอบนอกจะเป็นสิ่งแรกที่สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น ดังนั้นเส้นกรอบนอกของแบบเสื้อที่ดีก็จะส่งผลให้เสื้อผ้าและรูปทรงของส่วนประกอบในตัวเสื้อ เช่น แขนเสื้อ ปกเสื้อ กระโปรง ดูดีและสร้างความประทับใจต่อผู้พบเห็นมากยิ่งขึ้น
  เส้นกรอบนอกของเสื้อผ้า ได้มีวิวัฒนาการจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเพียง
3 แบบ เท่านั้นที่มีการนำไปใช้และดัดแปลงไปบ้างตามสมัยนิยม ได้แก่ ทรงตรง ( tubular ) ทรงกระดิ่ง ( bouffant ) ทรงหางกระรอก ( bustle ) ในเสื้อผ้าชั้นสูงมักนิยมใช้เส้นกรอบนอกที่เป็นทรงตรง หรือทรงกระดิ่ง เช่น ชุดไทย ชุดราตรี เป็นต้น แต่ถ้าเสื้อผ้าที่ผลิตจำนวนมากๆ ก็จะใช้เส้นกรอบนอกรูปทรงระดับปานกลางที่อยู่ระหว่างรูปทรง 2 แบบ เช่น ทรงตรงกับทรงกระดิ่ง และจะเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมในแต่ละปี 187
2. สี ( color )
 สีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบเสื้อผ้า เช่นเดียวกับเส้น นับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เราสามารามองเห็นสีต่างๆ ได้ในความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากสภาพความเข้มของแสงที่ตกกระทบและสะท้อนกับสีที่มีความอ่อนแก่ที่แตกต่างกันเข้าสู่สายตา ไม่ว่าจะเป็นแสง
ที่เกิดจากธรรมชาติหรือแสงที่เกิดจากไฟฟ้าแสงมากก็ทำให้สีมีความสว่างและชัดเจนมาก แต่ถ้าแสงน้อยก็จะทำให้สีหม่นและลดความสดใสลงได้ และที่สำคัญสีเป็นสิ่งแรกที่สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็นและสร้างอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าองค์ประกอบอื่นๆ บนตัวเสื้อ สีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบเสื้อผ้า เนื่องจากสีทำให้สะดุดตา และเป็นสิ่งแรกที่ผู้คนจะมองเห็นและจดจำเราได้ หากเลือกใช้สีให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคลิก กาลเทศะและสภาพแวดล้อม และจะช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองอีกด้วย ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการน า
สีมาใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าได้นั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างท่องแท้เกี่ยวกับพื้นฐานของสีแล้ว ยังจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการนำสีไปใช้ในการออกแบบเสื้อผ้า

 http://www.nwvoc.ac.th/nwvoc/images/stories/teacher_working/chittima/unit_4.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น